2553/12/07

Reflexivity

บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวคิด Reflexivity ของพ่อมดการเงิน George Soros จากบล็อกคุณปลาหมึก

บทความนี้เป็นการสรุปความเข้าใจของผมต่อแนวคิดของโซรอส ซึ่งผมได้ลองถามพี่ต้าน MudleyGroup เพื่อยืนยันว่าผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่


ปลาหมึก
คือผมสนใจความคิดของ Soros มาระยะนึงแล้ว ตอนอ่าน the new paradigm for financial market และบทความต่างๆ ผมก็ยังไม่เข้าใจเท่าไหร่
อาจจะเพราะเป็นทั้งภาษาและเป็นแนวคิดที่ต่างจากเศรษฐศาสตร์ในตำราทั่วไปหรืออะไรก็แล้วแต่

ตอนนี้ผมคิดว่าความเข้าใจของผมน่าจะมีเพิ่มขึ้นมาบ้าง จึงอยากจะถามดูครับว่าผมเข้าใจถูกต้องรึเปล่า และเข้าใจในระดับไหน

อย่างแรกเรื่องคือ ตลาดไม่มีความสมบูรณ์แบบ เนื่องมาจากตลาดเคลื่อนไหวจาก action ของคน และคนมีการรับรู้ที่ผิดพลาดอยู่แทบจะตลอดเวลา
ใน บางกรณีเช่นความคาดหวังต่ออนาคต มันเป็นการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่มีอะไรบ่งบอกได้แน่นอนว่าจะเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่จะขึ้นนั้นต้องเป็นผลรวมมาจาก action ของคนทุกๆคน
ซึ่งในความเป็นจริง ไม่มีใครที่จะรู้ว่าคนทุกๆคนจะทำอะไร อาจจะมีบ้างที่มีกลุ่มคนที่มีอิทธิพลสามารถชี้นำได้ แต่ไม่ทั้งหมด

จาก การรับรู้ที่ผิดเพี้ยนส่งผลให้เกิด action ที่ผิดเพี้ยนเช่นกัน ดังนั้นตลาดจึงเกิดภาวะฟองสบู่เป็นระลอกๆ อยู่ที่ว่าจะเป็นฟองสบู่ในรอบเล็กๆเช่นระยะปี หรือรอบใหญ่ๆเช่นระยะสิบๆปี โดยฟองสบู่ที่ใหญ่เป็นการสะสมความผิดพลาดต่างๆจากเล็กๆ แต่ไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง มันจึงสะสมเป็นลูกใหญ่

ในระยะยาวจะ มีการปรับสมดุลอยู่ตลอดเวลา เช่นเมื่อ ราคา วิ่งหนี ปัจจัยพื้นฐานไปมากๆ จะต้องมีการปรับสมดุลเกิดขึ้น เช่นมีคนรับรู้ความจริงว่าตอนนี้ราคามันเป็นฟองสบู่แล้วก็จะเกิด action สวนทางกลับมายังพื้นฐานของมัน แต่แน่นอนว่าตลาดไม่สมบูรณ์แบบ action อาจจะแรงเกินไปทำให้ลงมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานเนื่องจากเป็นการ action จากคนจำนวนมากที่มีทั้งรู้ข้อมูลจริงและไม่รู้ข้อมูลจริง จนเมื่อถึงเวลาหนึ่งจะมีคนรับรู้อีกว่า ราคาต่ำกว่าพื้นฐาน จะมีการ action ย้อนกลับขึ้นไปอีกครั้ง

ส่วน reflexivity ตามความเข้าใจของผมคือ
1.ตลาดสะท้อนปัจจัยและข้อมูลต่างๆออกมา (ซึ่งข้อนี้เป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปอยู่แล้ว)
2.ตลาดมีอิทธิพลส่งผลสะท้อนกับไปยังปัจจัยและข้อมูลต่างๆด้วย

จาก ข้อ2 แปลว่าการรับรู้ของคนเรานั้น(ความคิด) เมื่อไปทำให้ตลาดเกิด action มันจะสามารถสะท้อนไปยังปัจจัยต่างๆ(ความจริง)ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามได้ แม้ว่าจะเป็นการรับรู้มาแบบถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม
เช่นถ้าเกิดราคา สินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้น มันจะส่งผลมายังผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นๆอย่างไม่ต้องสงสัย ปัจจัยต่างๆจึงสามารถเปลี่ยนแปลงตามราคาได้




MudleyGroup
ใช่ เลยครับ นี่คือหัวใจพื้นฐานที่สำคัญของ Reflexivity ซึ่งคนส่วนมากจะมองแค่ข้อ1 ทั้งๆที่ข้อ 2 ก็สำคัญไม่แพ้กัน เช่นเพราะเรื่องของราคาตลาดมันสามารถสะท้อนมายังพื้นฐานของสินค้าได้เช่นกัน อย่างเช่น ในบลาซิล ตอนพี่ซื้อ-ขาย เอทานอล อยุ่ พอราคา เอทานอลมันพุ่งขึ้น จนเกิดกระแส ผู้คนในวงการเกษตรของบลาซิลต่างก็หาเหตุผลมา support การขึ้นของราคานั้น จนทำให้โรงงานเอทานอลเกิดความโลภอยากกักตุนไว้เพราะอยากได้ราคาสูงๆ สุดท้ายก็ยิ่งส่งเสริมทำให้ราคา เอทานอล ในบลาซิลตอนนั้นยิ่งสูงขึ้นไปอีก จนเกิดฟองสบู่ขึ้นมา หลังจากนี้พอมันสุดโต่งไปมากๆหลายๆคนเริ่ม Realize ก็จะทำให้เกิดการเทขาย เพราะถ้าราคามันแพงไปมากกว่านี้ก็จะมีคนไปนำเอทานอลจากประเทศอื่นเข้ามาขาย แทน ทีนี้คนก็เริ่มแห่ขาย พวกโรงงานที่กักตุนไวเริ่มตกใจกลัวว่าตนจะขายได้ราคาไม่ดี ก็พากันขนออกมาขายกันใหญ่ จนราคาในตลาดรองรับ supply ไม่ทันส่งผลให้ตลาดดิ่งลงอย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น: